วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เหตุการณ์กบฎ ร.ศ.130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)
กบฎ ร.ศ.130
กบฎ ร.ศ.130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475 นานถึง 15 ปี โดยเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2475(ร.ศ.130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่งวางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2455 ประกอบโดยผู้ร่วมคณะเริ่มแรก 7 คนคือ
1) ร.อ.ขุนทวยหาญ พิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
2) ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ (จากกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์)
3) ร.ต.จรูญ ษตะเมษ (จากกองปืนกล รักษาพระองค์)
4) ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ (จากกองปืนกล รักษาพระองค์)
5) ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ (จากกองปืนกล รักษาพระองค์)
6) ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร (จากโรงเรียนนายสิบ)
7) ร.ต.เขียน อุทัยกุล (จากโรงเรียนนายสิบ)
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิดจึงนำความไปแจ้ง หม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ แผนการจึงแตกเสียก่อนจึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุก 20 ปี 32 คน จำคุก 15 ปี 6 คน จำคุก 12 ปี 30 คน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และมีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษละเว้นโทษประหารชีวิตด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น